Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2011

สุนทรี เวชานนท์

สุนทรี เวชานนท์ (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 – ) เป็นศิลปินนักร้องเพลงล้านนา ที่มีชื่อเสียงจากเพลง “สาวเชียงใหม่” และ “ล่องแม่ปิง” ซึ่งเป็นผลงานเพลงร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร และน้องชายสามคนของจรัล คือ กิจจา คันถ์ชิด และเกษม มโนเพ็ชร ในนาม “พี่น้องมโนเพ็ชร”

สุนทรี เวชานนท์ เดิมทำงานเป็นรีเซฟชันในห้องอาหาร และเป็นเพื่อนในกลุ่มเดียวกับจรัล มโนเพ็ชร และมานิด อัชวงศ์ เข้ามาร่วมงานกับจรัลโดยร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ดอกไม้ร่วงที่แม่ริม โดยร้องแทนนางเอก คือ นิภาพร นงนุช  และร้องเพลงคู่กับจรัล เพลงแรกคือเพลง “น้อยไจยา” จนมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นนักร้องคู่ขวัญ

สุนทรี เวชานนท์ สมรสกับสามีชาวออสเตรเลีย มีบุตรสองคน ได้แก่ บุตรสาวคือ ลานนา คัมมินส์ เป็นนักร้องในสังกัดจีเอ็มเอ็ม และบุตรชาย แอนดรูว์ คัมมินส์ กำลังศึกษาในต่างประเทศ ปัจจุบันสุนทรีทำธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ชื่อ “เฮือนสุนทรี” ตั้งแต่ พ.ศ. 2536

สุนทรี เวชานนท์ เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2549 และถูกคุกคามโดยปาระเบิดใส่บ้านพักในจังหวัดเชียงใหม่

1 ความเห็น

Filed under ศิลปินเพลงล้านนา

บุญศรี รัตนัง

บุญศรี รัตนัง เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 (อายุ 57 ปี) ที่บ้านป่าเหมือด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรพ่อน้อยดวงคำ และนางจันทร์เที่ยง รัตนัง มีพี่น้อง 4 คน ได้สมรสกับนางจันทร์เป็ง สุยะเอย มีบุตร 2 คน

นาย บุญศรี รัตนัง มีนิสัยการดีด สี ตีเป่า มาตั้งแต่เล็ก ได้ฝึกการเล่นดนตรีพื้นเมืองประเภทซึง – สะล้อ ขลุย จากลุงของตน ชื่อนายสิงห์คำ รัตนัง ตั้งแต่เยาว์วัย

นายบุญศรี รัตนัง เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 ที่บ้านเลขที่ 80 บ้านป่าเหมือด หมู่ที่ 4 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านป่าเหมือดวิทยาคาร ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ในขณะที่เรียนหนังสือได้มีโอกาสได้เรียนดนตรีพื้นเมือง คือ ซึง ขลุ่ย และสล้อ จากพ่อสิงห์คำ รัตนัง จึงเริ่มตั้งวงดนตรีพื้นเมือง โดยรวมกลุ่มกับเพื่อนๆในหมู่บ้าน รับเล่นดนตรีตามงานทั่วไปในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2513 ได้รับการแนะนำจาก พ่อสม บุญเรือง ช่างปี่ประจำหมู่บ้าน ให้ไปเรียน เป่าปี่เพื่อเข้ากับการขับซอ เมื่อเข้ามาสู่วงการศิลปินพื้นบ้าน พ่อครูจันทร์ตา ต้นเงิน ซึ่งเป็นพ่อครูสอนการขับซอ ให้ไปเรียนขับซอกับท่าน เพื่อเป็นการสืบทอดการขับซอพื้นบ้านล้านนา ไม่ให้ สูญหายไปจากลูกหลาน และดินแดนล้านนา เพราะในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่เริ่มมีวัฒนธรรม แบบตะวันตกเข้ามามากขึ้น

พ.ศ.2523 ได้คู่ซอที่มีความสามารถและมีชื่อเสียงคือ นางบัวตอง เมืองพร้าว จึงนำประสบการณ์ และความรู้ที่มีทั้งหมดเกี่ยวกับดนตรีและศิลปวัฒนธรรมล้านนา สร้างสรรค์ผลงานของตนเองขึ้น เช่น การแต่งซอพื้นเมือง แต่งละคร แต่งคร่าว แต่งจ๊อย และที่สำคัญมากที่สุดคือ การแต่งเพลงคำเมือง เนื่องจากยุคนั้นเพลงที่ได้รับความนิยมในล้านนา

มีผลงานอัลบั้มซอพื้นบ้านมาแล้วกว่า 30 ชุด ผลงานซอบางเรื่องที่มีการนำมาบันทึกเสียงใหม่ และจัดทำในรูปแบบของซอสายการศึกษา เช่น ซอเรื่องดาววีไก่หน้อย สูมาครัวตาน และต๋ำฮายา ที่นำมาบันทึกรวมกันในพ.ศ. 2543โดยมีการจัดทำเป็นวีซีดี ซอคาราโอเกะ เพื่อการศึกษา ขึ้นเป็นครั้งแรกในล้านนา

มีการสร้างสรรค์ผลงานประเภทอัลบั้มดนตรีพื้นเมืองประมาณ 10 กว่าชุด ชุดที่ ได้รับความนิยมคือ ชุด ดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ (2534) เพราะมีการนำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนามาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล บางชนิด และมีการประยุกต์ให้มีจังหวะที่เร็วขึ้น ทำให้จากปกติที่ดนตรีพื้นเมืองมักจะมีจังหวะที่ช้าก็เปลี่ยนให้มีจังหวะที่ เร็วขึ้น ฟังแล้วคึกครื้นมากขึ้น ปัจจุบันได้สร้างศูนย์สืบสานภูมิปัญญาล้านนาขึ้น โดยสร้างเป็นอาคารยกพื้นสูง หลังเล็กๆ ติดทุ่งนา ซึ่งใช้ทุนส่วนตัวเป็นหลักและมีทุนจากองค์กรต่างๆเข้ามาร่วมบ้าง เช่น อบต. และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการสอนดนตรีพื้นเมือง ซอพื้นเมือง จ๊อย คร่าว สอนการฟ้อนล้านนา สอนการทอผ้า และสอนในเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านแบบล้านนาโบราณ

55 ปี ที่ผ่านมา ทุกเวลา ทุกนาที เป็นเสมือนการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และในการใช้ชีวิต ทำให้เกิดการตกผลึกทางความคิด ก่อให้เกิดอุดมการณ์ในการที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ต่อไป อาจจะมองได้ว่าเป็นแค่อุดมการณ์เล็กๆ จากคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นในสังคม แต่ก็ด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างกลุ่มคนอนุรักษ์วัฒนธรรมรุ่นต่อไป เพื่อช่วยกันสืบทอดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ไว้ มิให้สูญหายไปจากดินแดนแห่งความสวยงามทางวัฒนธรรมล้านนา

 

ใส่ความเห็น

Filed under ศิลปินเพลงล้านนา

จรัล มโนเพ็ชร

จรัล มโนเพ็ชร (1 มกราคม พ.ศ. 2494 — 3 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นศิลปินชาวไทย ผู้เป็นทั้งนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง และนักแสดง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย

งานดนตรีของจรัลมีเอกลักษณ์จากการสร้างสรรค์ภาษาถิ่นเหนือ คำเมือง ของเขาซึ่งถูกเรียกว่า “โฟล์คซองคำเมือง” ที่ก่อเกิดขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความสนใจจนเป็นที่ยอมรับ และกลายเป็นแบบอย่างบนแนวทางดนตรีท้องถิ่นร่วมสมัยในปัจจุบัน

โฟล์คซองคำเมืองของจรัลไม่เพียงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวเหนือหรือชาวล้านนา ซึ่งเข้าใจภาษาคำเมืองภาษาท้องถิ่นของตน แต่ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยภาคอื่น ๆ ไปจนถึงชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะการดนตรี เอกลักษณ์ของเขาทั้งในการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาโฟล์คซองคำเมือง” จรัลแต่งเพลงไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาราวยี่สิบห้าปีของชีวิตศิลปินของ เขา เป็นบทเพลงที่งดงามด้วยการใช้ภาษาเยี่ยงกวี จนทำให้เขาได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ในฐานะ “บุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา”

แม้จรัลจะเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงของเขานับร้อยเพลงนั้นยังคงเป็นอมตะ ผู้คนยังคงฟังเพลงของเขาอยู่ไม่เสื่อมคลาย

ประวัติ

จรัล มโนเพ็ชร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในย่านที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ พ่อของเขาเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ส่วนแม่ชื่อ เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่

จรัลเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 (บางแห่งระบุว่า เกิด พ.ศ. 2498) เป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจในพุทธศาสนา ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้ บ้าน คือ วัดฟ่อนสร้อย ซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนี้มีศรัทธาอย่างยิ่ง ด้วยครอบครัวมโนเพ็ชรเป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ความที่เป็นคนมีฝีมือในด้านงานศิลปะหัตถกรรมท้อง ถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้ พ่อของจรัลจึงมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว จรัลเองในเวลานั้นแม้จะอยู่ในวัยเด็ก แต่บางครั้งเมื่อพ่อมีงานพิเศษล้นมือจรัลจะเป็นผู้ช่วยพ่อของเขา ทั้งงานเขียนรูปและงานแกะสลักไม้

การศึกษา

จรัลเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนพุทธิโสภณ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนเมตตาศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนในขั้นอุดมศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลฝึกเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กเพราะความชอบในดนตรี ทั้งจากที่เขาได้ฟังทางสถานีวิทยุในเชียงใหม่ และจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภาคเหนือ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการทำงานเพื่อหารายได้พิเศษโดยไม่ต้อง รบกวนเงินทองจากทางบ้าน เขาเริ่มต้นด้วยการรับจ้างร้องเพลงและเล่นกีตาร์ตามร้านอาหาร หรือตามคลับตามบาร์ในเชียงใหม่ ซึ่งในเวลานั้นยังมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แนวดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือดนตรีโฟล์ค คันทรี และบลูส์ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา

เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา (เวลานั้นพะเยายังไม่ได้รับการยกให้เป็นจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จรัลยังคงทำงานประจำไปด้วยควบคู่กับการร้องเพลงตามร้านอาหาร ตามโรงแรมและคลับบาร์ในเชียงใหม่

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2520 เมื่อบทเพลงโฟล์คซองคำเมืองของเขาเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเพลงที่ชื่อ อุ๊ยคำ ซึ่งเวลานั้นเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลงของ ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมรี นอกจากนั้นยังมีศิลปินต่างชาติอีกหลายคนที่เป็นต้นแบบการเล่นดนตรีของจรัล เช่น บ็อบ ดีแลน, จอห์น เดนเวอร์, นิตตี้ กริทที้ เดิร์ท แบนด์, วิลลี่ เนลสัน, จิม โครเชต์ และ พอล ไซมอน & อาร์ท การ์ฟังเกล ซึ่งส่งผลไปถึงการทำงานโฟล์คซองคำเมืองอันเป็นดนตรีในรูปแบบของจรัลเอง

จรัลก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไปในยุคนั้นที่ได้ยินได้ฟังดนตรีจากอเมริกาและ อังกฤษที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตามสมัยนิยม แต่จรัลไม่เพียงชื่นชอบเสียงดนตรีจากต่างประเทศ เขายังชื่นชอบบทเพลงสมัยก่อนแต่โบราณของชาวล้านนาอย่าง ยิ่ง เมื่อจรัลเริ่มต้นแต่งเพลง บทเพลงของเขาจึงเป็นการผสมผสานแนวดนตรีตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้จะเป็นการผสมผสานศิลปะดนตรีของตะวันออกกับตะวันตกก็ตาม แต่งานดนตรีของจรัลก็แฝงด้วยลักษณะท้องถิ่นล้านนาที่ชัดเจน ทั้งท่วงทำนองและเนื้อหาของบทเพลงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวล้านนาตั้งแต่ยุค แรกที่ทำให้จรัลมีชื่อเสียงขึ้นมา และแม้เวลาจะผ่านไป บทเพลงของจรัลเริ่มที่จะเป็นลักษณะสากลแต่เขาก็ไม่เคยละทิ้งบทเพลงพื้นบ้าน ของล้านนา

ยุคแรก

บทเพลงคำเมืองของเขาแพร่กระจายไปทั่วในปี พ.ศ. 2520 แต่บรรดาครูเพลงในล้านนาที่จรัลมักเรียกว่า ฤๅษีทางดนตรี ต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์งานของเขาซึ่งแปลกแตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคย ได้ยินได้ฟังกันมา เพราะจรัลใช้กีตาร์ และแมนโดลินมาแทนเสียงซึง ใช้ขลุ่ยฝรั่ง แทนขลุ่ยไทย และเขายังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าแก่ของล้านนา ตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมืองของเขา จรัลพูดว่า “บทเพลงแบบเก่าๆนั้นมีคนทำอยู่มากแล้วและก็ไม่สนุกสำหรับผมที่จะไปเลียนแบบ ของเก่าเสียทุกอย่าง”

การเป็นคนนอกคอกที่กล้าพอที่จะสร้างสรรงานดนตรีซึ่งแตกต่างจากงานเก่า ๆ ตามแบบของศิลปินนี้เอง ที่ส่งผลให้บทเพลงเก่าแก่ของล้านนากลับมาได้รับความสนใจจากวัยรุ่นในยุคนั้น แทนที่จะหายไปตามกาลเวลาและสมัยนิยม จรัลได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นนักแต่งเพลงฝีมือเยี่ยม ที่แม้บรรดาศิลปินเพลงด้วยกันต่างก็ยอมรับ เขาเชียวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบแต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือบทเพลงแบบบัลลาด ซึ่งเป็นบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนของท้องถิ่นล้านนาอัน เป็นบ้านเกิดของเขา จรัลพูดถึงการแต่งเพลงเองร้องเพลงเองของเขาว่า….. ‘“มันเป็นงานที่เป็นตัวตนจริงๆแท้ๆจากใจ ในเมื่อผมเป็นนักร้องแต่ไม่อยากร้องเพลงของคนอื่น ผมจึงต้องเขียนเพลงของตัวเอง เป็นเพลงที่ผมอยากร้อง มันทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ไม่ต้องอาศัยให้ใครมาสร้างภาพลักษณ์”’

ในยุคแรกๆนั้นจรัลทำงานดนตรีร่วมกับพี่น้องและญาติๆของเขาในตระกูลมโน เพ็ชร คือน้องชายสามคนที่ชื่อ กิจจา – คันถ์ชิด และเกษม รวมทั้งมักจะมีนักร้องหญิงชื่อสุนทรี เวชานนท์ ร่วมร้องเพลงด้วย แต่ต่อมาทั้งหมดก็แยกทางกันไปตามวิถีของแต่ละคน น้องชายทั้งสามของเขาต่างก็ยังคงเล่นดนตรีและร้องเพลง โดยที่ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนั่นเอง ส่วนสุนทรี เวชานนท์ แต่งงานกับชายชาวออสเตรเลียจึง โยกย้ายไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยอีกครั้งก็ได้เกิดเรื่องความบาดหมางระหว่างจรัลกับ สุนทรีจนทำให้ไม่อาจร่วมงานกันได้อีกต่อไป จรัลเองถึงกับประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกับสุนทรีอีก และเขาก็ได้ทำเช่นนั้นตราบจนวันตายจริงๆ

ยุคหลัง

ในช่วงบั้นปลายของชีวิตราวสิบปีก่อนที่จรัลจะเสียชีวิต งานดนตรีของเขาจึงเป็นการทำงานเพียงลำพังอย่างแท้จริง แต่ด้วยความสามารถอันสูงส่งของเขา งานดนตรีของจรัลกลับพัฒนายิ่งขึ้น โดยที่เขายังคงแต่งเพลงเอง ร้องเอง เล่นดนตรีเอง และจรัลยังเรียบเรียงเสียงดนตรีเองอีกด้วย จนทำให้เขาได้รับรางวัลดนตรี สีสันอวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 โดยเป็นศิลปินชายเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลถึงสามรางวัลในครั้งนั้น นั่นก็คือในฐานะนักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงศิลปินป่า อัลบั้มยอดเยี่ยม จากอัลบั้มชุดศิลปินป่า และบทเพลงยอดเยี่ยมจากงานชุดศิลปินป่า

เมื่อจรัลโยกย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นอกจากมีกิจการร้านอาหารและทำงานเพลงแล้ว บางครั้งจรัลยังรับแสดงหนังและละคร อีกทั้งยังแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครเหล่านั้นด้วย ความสามารถในด้านนี้ทำให้ต่อมาจรัลได้รับรางวัลทางด้านการแสดงอีกหลายรางวัล ทีเดียว ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการจัดทำดนตรีเรียกว่าดนตรีจตุรภาค โดยรวบรวมนักดนตรีฝีมือเยี่ยมจากทั่วทุกภาคในประเทศมาแต่งเพลงเพื่อเฉลิม ฉลองวโรกาสนี้ จรัลเองขณะนั้นมีอายุเพียงสี่สิบห้าปีเท่านั้นแต่ก็ได้รับเชิญในฐานะครูเพลง ภาคเหนือ เขาแต่งเพลงชื่อว่า ฮ่มฟ้าปารมี เป็นเพลงที่ไพเราะมาก จนทำให้ต่อมาแพร่หลายในวงกว้าง และในที่สุดสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการดนตรีในจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเพลงนี้ไปใช้ประกอบการสอนในสาขานาฏศิลป์ด้วย และปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดท่าฟ้อนรำสำหรับบทเพลงนี้เช่นกัน เรียกว่า ฟ้อนฮ่มฟ้าปารมี ช่วงชีวิตการทำงานศิลปะการดนตรีของจรัลเริ่มในปี พ.ศ. 2520 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2544 เมื่อจรัลเสียชีวิตจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน โดยที่ก่อนเสียชีวิตนั่นเองจรัลกำลังตั้งใจที่จะทำงานเพลงในโอกาสที่โฟล์ค ซองคำเมืองของเขายืนยาวมาถึงยี่สิบห้าปีแห่งการทำงานเพลง เขาตั้งใจใช้ชื่อว่า 25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร

การเสียชีวิต

ข่าวการเสียชีวิตของจรัลจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วประเทศ ผู้คนจำนวนมากจากทุกวงการเดินทางไปคารวะศพของเขา ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็น เวลาห้าวัน พวงหรีดที่มีผู้นำไปแสดงความเคารพและคารวะศพของจรัลมีเป็นจำนวนมากจนกระทั่ง ไม่มีที่วาง ทางวัดจึงต้องนำไปแขวนไว้บนกำแพงวัดทั้งด้านในและด้านนอก นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ส่งพวงหรีดดอกไม้สดมา และรวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย หรือแม้แต่รัฐมนตรีตามกระทรวงต่าง ๆ และสมาชิกรัฐสภา

หลังการเสียชีวิตของจรัล มโนเพ็ชร นอกจากการขนานนามที่เขาได้รับมาตลอดว่าเป็น ราชาโฟล์คซองคำเมือง แล้ว ผู้คนได้ยกย่องและเรียกเขาด้วยชื่อต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ศิลปินล้านนาแห่งยุคสมัย ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ มหาคีตกวีล้านนา ราชันย์แห่งดุริยะศิลป์ นักวิชาการและนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมยกย่องให้ จรัล มโนเพ็ชร เป็นนักรบวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น

ก่อนเสียชีวิตไม่นานจรัล มโนเพ็ชร ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นที่ปรึกษางานด้านวัฒนธรรม ซึ่งจรัลได้ตอบตกลงไปแล้ว แต่ก่อนที่การประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นจรัลก็เสียชีวิตไปก่อน

ใส่ความเห็น

Filed under ศิลปินเพลงล้านนา

ตำนานละแวก

ตำนานละแวก

ตำนานละแวก ต้นฉบับตำนานละแวกนี้
เป็นของวัดศรีพิงค์เมือง (วัดศรีปิงเมือง) ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
จำนวน ๑ ผูก ความยาว ๖๒ หน้า คัดลอกโดยมหาวันภิกขุ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับ จ.ศ.๑๒๔๒
ปีกดสะง้า เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ วัน ๓

สรุปใจความได้ดังนี้ ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น
ทรงทำนายเหตุการณ์ในอนาคตไว้ที่เมืองละแวก เมื่อเสด็จมาถึงเมืองแห่งนี้ พญานาคได้มาอุปัฏฐาก
จึงทำนายว่า สถานที่ดังกล่าวนี้จะเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา
พระอานนท์จึงขอเอาพระเกศาธาตุบรรจุไว้ที่นี่ พระพุทธองค์ทรงมอบพระเกศาธาตุให้จำนวน ๕ เส้น
จากนั้นพระอินทร์ พระพรหม ครุฑ นาค และพญาเจ้าเมืองละแวก จึงก่อเจดีย์ขึ้นเป็นจำนวน ๕ องค์
สำหรับเป็นเครื่องหมายของศาสนา ๕ พันปี ครั้นเมื่อพระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว ๒๒ ปี
พญาอโสกธัมมิกราชได้มาบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวให้เจริญรุ่งเรือง
โดยก่อกำแพงแก้วรอบบริเวณพร้อมทั้งติดแผ่นทองจังโกทุกองค์เจดีย์

ส่วนเมืองละแวกแห่งนั้นมีบริเวณกว้าง ๓ พันวา ยาว ๒ พันวา กำแพงเมืองก่อด้วยหินหนา ๖ พันวา
สูง ๔ พันวาคูเมืองลึก ๗ วา สำหรับบริเวณที่สร้างเจดีย์ ๕ องค์กว้าง ๓๐๐ วา
ฐานเจดีย์องค์หนึ่งกว้าง ๑๔ วา สูง ๒๐ วา แต่ละเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้าน
เหมือนกันหมดทุกองค์ เจดีย์ทั้ง ๕ องค์ดังกล่าวนี้
พระพุทธองค์ให้สร้างไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายทางศาสนา หากเจดีย์จมพื้นดินลงไป ๑ องค์
เท่ากับศาสนาพ้นไปแล้ว ๑ พันปี จนกว่าจะครบ ๕ พันปี เจดีย์ทั้งหมดจึงจะหายไปในที่สุด
เจดีย์ดังกล่าวนี้มีผู้อุปัฏฐากดูแลคือ ภิกษุ ๕๐๐ องค์ สามเณร ๕๐๐ รูป คฤหัสถ์ ๕๐๐ คน
ในช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศาสนา ๕ พันปีนั้น
จะมีพญาธัมมิกราชเกิดมาจำนวน ๕ องค์โดยมีช่วงเวลาครั้งละ ๑ พันปื
สำหรับพญาธัมมิกราชองค์ที่ ๓ ที่จะเกิดมาในระหว่างพุทธศาสนาได้ ๓ พันปีนั้น
จะเกิดมาในขณะที่บ้านเมืองเดือดร้อนวุ่นวาย ผู้คนไม่มีศีลธรรม เกิดมีการรบพุ่งฆ่าฟันกันไปทั่ว
ก่อนที่จะมีพญาธัมมิกราชเกิดขึ้นนั้น ท้องฟ้าจะมืดมิดเป็นเวลา ๗ วัน
ครั้นถึงวันที่ ๘ ท้องฟ้าจึงจะสว่างสดใส

เทวบุตรจะนำเอาเครื่องสูง ๕ ประการมาทำพิธีราชาภิเษกโดยมีนางฟ้าและพระฤาษีมาร่วมพิธีด้วย
รวมทั้งข้าทาสบาทบริจาริกาจำนวนหนึ่งหมื่นหกพันนางจากอุตรกุรุทวีป เมื่อเสร็จพิธีราชภิเษกแล้ว
ปราสาท ๓ หลังจะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แต่ละหลังทำด้วยทองคำ แก้ว และ เงิน

พญาธัมมิกราชองค์นั้นได้เสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ในราชสำนักจะมีบุรุษผู้ประเสริฐ จำนวน ๖ คน
พญาธัมมิกราชจะขุดเอาข้าวของเงินทองจากพื้นดินมาบูรณะบ้านเมืองและแจกจ่ายเป็นทานแก่คนทั่วไป
หลังจากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

(เรียบเรียงจาก ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว)

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา

กลับหน้าแรก

…ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมที่สนใจในวัฒนธรรมเมืองเหนือ…

เว็บไซท์นี้ได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เกี่ยววัฒธรรมของชาวเหนือหรือชาวล้านนาเป็นหลัก ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าวนี้ยังเป็น Subject Guide เกี่ยวกับภาษา วรรณกรรม และกวีล้านนา ที่จะให้ทุกท่านได้รับชมรับฟังเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ

ท่านสามารถเลือกเข้าชมรายละเอียดต่างๆได้โดย “เลือกจากรายการทางด้านขวามือ” ของทุกๆหน้าในเว็บไซต์นะครับ

 

อาขยานล้านนา จรัล มโนเพชร

ใส่ความเห็น

Filed under เรื่องอื่นๆ

ตำนานเทวดาอันเอาคนเข้าถ้ำเมืองละพูน

ตำนานเทวดาอันเอาฅนเข้าถ้ำเมืองละพูน

ตำนานเทวดาอันเอาฅนเข้าถ้ำเมืองละพูน เรื่องราวตำนานที่เกี่ยวกับความเป็นมาของชาวเมืองลำพูน ตำนานเรื่องนี้ปรากฏในตอนท้ายคัมภีร์ ตำนานลำพูน มีเพียง ๘ ลานเศษ ได้กล่าวถึงเหตุแรกเริ่มของเรื่องดังกล่าวไว้ว่า
เมื่อ จ.ศ.๙๓๘(๒๑๑๑) วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ เวลาพลบค่ำ
เทวดาได้นำเอาชายคนหนึ่งชื่อว่า รัวทีพา ผู้เป็นคนเฝ้าเทวสถาน อารักษ์พญาดอยหลวง
ชายคนดังกล่าวหลังจากกลับออกจากถ้ำมาแล้วก็ได้เล่าเรื่องต่าง ๆ
ที่ตนได้พบเห็นให้ชาวลำพูนได้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่ง ตัวเขาเองได้ไปหาใบม่วน
(ใบไม้ชนิดหนึ่ง พจนานุกรมล้านนา ฉบับแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า
หมายถึง พรรณไม้พุ่มยืนต้นจากต่างประเทศชนิด Prunus persica Batch
วงศ์ Rosaceae เรียก บ่าม่วน ในวัดบ้านปิด ด้านทิศใต้ลำพูน
ห่างจากวิหารด้านใต้ประมาณ ๑๐๐ วา ขณะที่กำลังจะกินใบบ่าม่วนหรือหมากนั้น
ก็เกิดเป็นหมอกมืดครึ้มขึ้นมาทำให้เขาหลงทาง

ทันใดนั้น มีชายชราผู้หนึ่งนุ่งขาวห่มขาว เดินเข้ามาทักทายเขา เขาถามหนทางกลับบ้าน
แต่ชายแก่กลับพาเขาเดินทางต่อไป สิ่งที่เขาสังเกตและจำได้คือ มีต้นกล้วย ลำเหมือง
เมื่อเดินต่อไปเห็นโกฐธาตุพระพุทธเจ้า จากนั้นชายเฒ่าคนนั้นก็พาเขาไปที่บ้านของตนเอง
และก่อนจะขึ้นไปบนบ้าน ชายชรานั้นก็นำเอาผ้าเนื้อละเอียดอ่อนดังทองคำ มาให้เขานุ่งห่ม
สิ่งที่เขาเห็นในสถานที่นั้นล้วนวิจิตรพิสดาร
และยังได้รับฟังการบอกเล่าเรื่องพระธาตุจากชายชราคนนั้นด้วย

สิ่งที่มองเห็นอีกอย่างหนึ่งคือพญา ๗ องค์ที่นั่งประจำพระมหาธาตุ
ขณะเดียวกันก็ได้เห็นคนที่กำลังไหว้พระธาตุ ล้วนแล้วแต่นุ่งขาวห่มขาว
และพญานั้นยังให้หมากเขากินอีก พร้อมทั้งบอกเรื่องการสร้างแท่นแก้ว และยังได้เล่าถึงเมืองบน
คือ สวรรค์ว่า ชาวสวรรค์ตีฆ้องกลอง ทำให้เสียงของมันดังมาถึงที่เขาอยู่
ยิ่งกว่านั้นยังบอกไม่ให้เขาทำร้ายชีวิตสัตว์ ไม่ให้ด่าสมณชีพราหมณ์
ไม่ให้ประมาทในบิดามารดาของตน ต้องรักษาศีล ๕ และศีล ๘ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อให้ทาน
ต้องให้ผู้ทรงศีลกินแล้วตนเองจึงกิน ส่วนอาหารที่ควรกินนั้นควรเป็นอาหารเจ ห้ามไม่ให้กินเนื้อ
เมื่อถามถึงอาหารที่ไม่ควรกิน ก็ได้รับคำว่า มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ

นอกจากนี้ ชายชรายังทำนายชะตาให้อีกว่า
จะมีคนคนหนึ่งที่อดอยากอาหารมาควักเอาตาและปาดชิ้นกิน
ทั้งนี้เพราะว่าในชาติก่อนเคยสร้างเวรกับพญาดอยหลวง คือชาติหนึ่งนั้นพญาดอยหลวงเป็นตุ๊กแก
และ ตัวเขาเองเกิดเป็นพญาช้าง เกิดเถียงกันว่าใครจะเป็นกรรมสิทธิ์ในต้นไม้ทั้งที่ตุ๊กแก
ซึ่งอาศัยอยู่ในโพรงต้น ส่วนพญาเป็นเพียงอาศัยร่มไม้แต่อ้างสิทธิ์ครอบครอง
ผลสุดท้ายพญาช้างโกรธจึงรุนไม้ตนนั้นให้โค่นลง เมื่อทั้งสองตายไป
ช้างไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วมาเกิดเป็นคน ส่วนตุ๊กแกเกิดเป็นพญาดอยหลวง
เมื่อถามถึงแท่นแก้วหรือบัลลังก์ที่กำลังสร้างก็ได้รับคำว่า จะเอาไปไว้ประจำในที่ๆ คนมีศีลธรรม
และสั่งมาให้บอกคนไปร่วมกันทำบุญที่หน้าวัดชีวร ในเดือน ๖
และจะออกไปดูคนใจใฝ่บุญแลใจใฝ่บาป และจักเอาว่านไฟหว่านคนใจใฝ่บาปให้ตายหมดสิ้น
ตอนท้ายพญาดังกล่าวชวนให้เขาอยู่ด้วยกัน แต่ตัวเขาปฏิเสธ จึงได้รับคำสั่งในวิธีเดินทาง
ก่อนกลับก็ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี และให้หนังสือ
เมื่อพร้อมแล้วชายชราก็ให้ขี่ม้าและเดินตามมาส่ง
เมื่อถึงที่แห่งหนึ่งจึงให้ลงจากหลังม้าและหลับตา เมื่อรู้ตัวก็ปรากฏอยู่
ณ ก้อนหินเหนือปากถ้ำหอกลองนี้เอง

เรียบเรียงจาก บำเพ็ญ ระวิน)

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา

ตำนานเมืองฝากและอ่างสลุงเชียงดาว

ตำนานเมืองฝางและอ่างสลุงเชียงดาว

ตำนานเมืองฝางและอ่างสลุงเชียงดาว เรื่องในตำนานเมืองฝางและอ่างสลุงเชียงดาว มี ๓ ตอน โดยแต่ละตอนจบในตัวเอง
ตอนที่ ๑ เริ่มกล่าวตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากดอยเกิ้ง (ในเขตอำเภอจอมทองเชียงใหม่)
โดยมีพระอรหันต์ พระอินทร์ และพระยาอโสกธัมมิกราช ติดตามมาด้วย
เมื่อทรงพบลัวะผู้หนึ่ง กำลังวิดน้ำเข้านา จึงทรงทำนายว่า ในที่นั้นต่อไปจะเป็นเมืองหอด
ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหินที่มีลักษณะคล้ายเต่า เมื่อเดินทางต่อไป พระยานาคเกิดความเลื่อมใสจึงประทับรอยพระบาทไว้ให้และทำนายว่าต่อไปจะเป็นเมืองมหานคร

ครั้นเดินทางไปถึงบ้านลัวะที่เป็นช่างปั้นหม้อ ทำนายว่า ต่อไปจะเป็นเมืองภุญชานคร และสั่งเอาไว้ว่าหากพระองค์นิพพานไปแล้ว ให้นำเอาธาตุกระดูกศีรษะด้านขวามาบรรจุไว้ที่นี่ เมื่อเสด็จมาถึงใต้ร่มมะขาม เทวดาบันดาลห่าฝนเงินทองตกลงมาปูชา จึงได้ชื่อว่าดอยเขาฅำหลวง จากนั้นจึงเสด็จไปทางทิศตะวันออก ทำนายว่าต่อไปจะเป็นเมืองใหญ่ มีอารามสำคัญ ๖ แห่ง ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนก้อนหิน เมื่อมาถึงใต้ร่มไม้บุนนาค สองสามีภรรยานำเอาดอกบัวมาถวาย ก็ทรงทำนายว่าต่อไปจะเป็น วัดบุปผาราม คือ วัดสวนดอกไม้
ทรงอธิษฐานให้เกศาธาตุแตกออกเป็น ๘ เส้นบรรจุไว้ในสถานที่ดังกล่าว
ครั้นเสด็จมาถึงกอไม้หก จึงทำนายว่าต่อไปจะเป็นเวฬุวนารามป่าหก ทรงประทานพระเกศาธาตุไว้

เมื่อเสด็จไปทางทิศตะวันออก ทำนายว่าต่อไปจะเป็นวัดบุพพาราม ต่อมามีพระชาวพม่ามาขอบวชใหม่ ทำนายว่าต่อไปจะเป็นเมืองชีใหม่ หรือเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จไปทางทิศตะวันออก ลัวะนำเนื้อวัวกระทิงย่างมาถวาย ทำนายว่าต่อไปจะเป็นวัดอโสการาม ทรงประทานเกศาธาตุไว้ จากนั้นจึงเสด็จไปทางทิศใต้ ลัวะนำผลไม้มาถวาย ทำนายว่าต่อไปจะเป็นวัดพิชชอาราม เมื่อเสด็จไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ นักบวชชาวพม่า ๗ ตน ขอเอาเกศาธาตุ ทำนายว่าต่อไปจะเป็นสังฆอาราม จากนั้นจึงเสด็จไปสู่ทิศหรดี ลัวะสร้างกระท่อมไม้ถวายให้เป็นที่ประทับ ทำนายว่า ต่อไปเป็นวัดอินทาราม ทรงประทานเกศาธาตุไว้ ต่อมาเมื่อเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านลัวะ นักบวชชาวพม่าจุดไฟบูชา ทำนายว่าต่อไปจะเป็นโชติอราม ทรงประทานพระเกศาธาตุ พร้อมทั้งรับสั่งว่าถ้านิพพานไปแล้ว ให้นำเอาธาตุฝ่ามือขวามาบรรจุที่นี่

จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดช่างปั้นหม้อ ลัวะสร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆ จำนวน ๓ ล้าน ๖ แสนองค์ถวาย จึงให้นำไปฝังไว้ เมื่อเสด็จไปถึงดอยนั่งนอน ก็ประทานพระเกศาธาตุ ส่วนในเมืองยวม เมืองยาง เมืองแช่ ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ละแห่ง ตอนที่ ๒ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จไปพบพระยายักษ์ที่ดอยอ่างสลุง ทรงเทศนาให้พระยายักษ์ฟัง ทรงทำนายว่าต่อไปเมื่อศาสนาได้ ๒๐๐๐ ปี พระยายักษ์จะเกิดเป็นพ่อค้าข้าวสารเป็นผู้มีสติปัญญาและจะได้ครองเมืองเชียงดาว เมื่อเสด็จมาถึงเมืองฝาง ทรงทอดพระเนตรเห็นหนองน้ำใหญ่ จึงทำนายว่าต่อไปจะเป็นเมืองล้านช้างอโยธยา ครั้นมาถึงหนองน้ำอีกแห่งหนึ่ง พระยานาคนำเอาน้ำผึ้งมาถวาย ทำนายว่า
ต่อไปจะได้ชื่อว่าพระนอนหนองผึ้ง

จากนั้นจึงเสด็จไปนอนบนคันนาแห่งหนึ่ง ทำนายว่าต่อไปจะได้ชื่อว่าพระป้านและแม่ปูคาแห้ง ครั้นเสด็จมาถึงถ้ำตับเตาก็เกิดอาการประชวรอย่างหนัก หมอโกมารภัจจึงพาพระฤาษีจากดอยด้วนมารักษา แต่ทรงปลงอายุสังขารแล้ว จึงไม่ยอมให้ฤาษีรักษา

จากนั้นได้เสด็จไปยังถ้ำเชียงดาวและใช้ให้พระอานนท์ไปตักน้ำที่แม่น้ำปิง พระอานนท์ถูกยักษ์จับตัวไว้ พระพุทธองค์จึงเสด็จไปช่วย และได้ทำนายว่า ต่อไปยักษ์จะไปเกิดเป็นพญากาวิละในเมืองเชียงใหม่ เมื่อเสด็จมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ทรงปวดท้อง นาคจึงเนรมิตห้องส้วมให้ ทำนายว่าต่อไปจะเป็นพระบาทยั้งวิด

จากนั้นได้เสด็จไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พระอานนท์นำผ้าสังฆาฎิไปตาก ทำนายว่าต่อไปจะเป็นพระบาทตากผ้า เมื่อมาถึงดอยแห่งหนึ่งเทวบุตรนำเอาฉัตรมาปังแดดให้
ทำนายว่าต่อไปจะได้ชื่อว่าดอยเกิ้ง

ตอนที่ ๓ กล่าวพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปที่ถ้ำเชียงดาว ทำนายว่ายักษ์ที่รักษาถ้ำจะได้เป็นพระยาธัมมิกราชองค์ที่ ๓ มีอายุ ๒๐๐ ปี โดยองค์แรกเกิดที่เมืองปาฏลีบุตร องค์ที่ ๒ เกิดในเมืองหงสาวดี องค์ที่ ๓ เกิดในเมืองเชียงดาว องค์ที่ ๔ เกิดในเมืองอังวะ องค์ที ๕ เกิดในเมืองอโยธิยาและได้กล่าวถึงพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาไว้ที่ดอยอ่างสลุงก็เลยได้ชื่อว่าอ่างสลุงเชียงดาว มีพระยาอินทร์ เทวดา มาเนรมิตมหาเจดีย์ทองคำไว้บรรจุพระธาตุ ต่อจากนั้นก็มีพระยาอินทร์ พระยาพรหม พระยานาค มาสร้างพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่ไว้ในถ้ำ ประดับตกแต่งไว้สวยงาม ในถ้ำแห่งนี้มีทางแวะไปสถานที่ต่างๆ ได้ หลายแห่ง และได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติเมื่อจะเข้าไปชมถ้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งหากปฏิบัติไม่ถูกก็จะกลับออกมาไม่ได้

ส่วนในเมืองเชียงใหม่ เมื่อศาสนาใกล้จะถึงสามพันปี บ้านเมืองจะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย หาเชื้อพระวงค์ที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองมิได้ ในเวลาต่อมายักษ์ที่รักษาถ้ำเชียงดาวอยู่นั้นจะเกิดมาเป็นพระยาธัมมิกราช โดยเกิดมาเป็นพ่อค้าข้าวสาร พระอินทร์จะมาอัญเชิญขึ้นไปทำพิธีราชาภิเษกบนสวรรค์ จากนั้นจึงลงมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่งในเมืองเชียงดาว ส่วนพระมเหสีคือนางแก้วจากอุตรกุรุทวีป

(เรียบเรียงจาก ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว และ พรรณเพ็ญ เครือไทย)

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา

ตำนานอาฏานาฏิยปริต

ตำนานอาฏานาฏิยปริต

อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์
ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร
พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาราชเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า จตุโลกบาล (ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา
เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวกุเวรกราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของจตุโลกบาล
บางพวกก็เลื่อมใสพระพุทธเจ้า บางพวกก็ไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมให้ถือศีล ๕
คือ ให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และ การเสพสุรา

แต่มนุษย์และยักษ์ยังชอบทำบาปเหล่านี้ จึงขัดใจไม่ค่อยเลื่อมใส
สาวกของพระองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว
เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก
ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด
จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า
วิัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น

เมื่อพระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า
ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย
ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเองจากนั้น
พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง

(เรียบเรียงจาก ไข่มุก อุทยาวลี)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตำนานอาฏานาฏิยปริต

อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์
ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร
พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาราชเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า จตุโลกบาล (ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา
เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวกุเวรกราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของจตุโลกบาล
บางพวกก็เลื่อมใสพระพุทธเจ้า บางพวกก็ไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมให้ถือศีล ๕
คือ ให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และ การเสพสุรา

แต่มนุษย์และยักษ์ยังชอบทำบาปเหล่านี้ จึงขัดใจไม่ค่อยเลื่อมใส
สาวกของพระองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว
เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก
ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด
จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า
วิัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น

เมื่อพระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า
ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย
ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเองจากนั้น
พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง

(เรียบเรียงจาก ไข่มุก อุทยาวลี)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา

ตำนานสี่เกลอ

ตำนานสี่เกลอ

ตำนานสี่เกลอ ตำนานสี่เกลอฉบับวัดปากเหมือง เป็นการกล่าวถึงชายสี่คนที่เป็นมิตรสหายกัน
คือ ชาวพม่า ชาวล้านนา ชาวไทใหญ่ และ ชาวไทย โดยทั้งสี่คนได้รู้จักกันตั้งแต่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงยกทัพมาตีเชียงใหม่
พระนารายณ์ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๐ นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองเป็นต้นมา
พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นเชื้อสายของพญาไชยสิริแห่งเมืองเชียงแสน
ทรงสร้างเมืองอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ตรงกับปียี เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ วันศุกร์

ครั้นต่อมาถึงลำดับกษัตริย์องค์ที่ ๑๔ พญาไชยราชทรงปกครองบ้านเมือง มีมเหสีนามว่าศรีสุดา
มีโอรส ๒ องค์คือ เจ้ายอดฟ้า อายุ ๑๑ ปี เจ้าสิปปา อายุ ๕ ปี เมื่อพระบิดาสวรรคต
เสนาอามาตย์จึงแต่งตั้งให้เจ้ายอดฟ้าขึ้นครองราชย์ ฝ่ายพระนางศรีสุดา
ต่อมาได้สามีเป็นจ่ารักษาพระราชวัง
ทำให้เสนาอามาตย์ไม่พอใจจึงไปนิมนต์เจ้าเทียนซึ่งเป็นพระอนุชาของพญาไชยราชที่ออกไปบวชนั้น
ให้สึกออกมาปกครองบ้านเมือง โดยมีขุนภิเรนเทพซึ่งเป็นเชื้อสายของพ่อขุนรามคำแหง
เป็นหัวหน้าของเสนาอามาตย์ผู้ใหญ่ได้ไปเชิญเจ้าเทียน และจ่ารักษาพระราชวัง
มาเสี่ยงเทียนบูชาต่อหน้าพระประธาน ใครจะได้เป็นใหญ่ให้เทียนดับทีหลัง
หลังจากจุดเทียนเสี่ยงทายแล้ว เทียนของพระอนุชาจะดับก่อน
ทำให้ขุนพิเรนเทพโมโหจึงคายหมากทิ้ง

แต่เทวดาบันดาลให้หมากไปถูกใส่เทียนของจ่ารักษาพระราชวัง
ทำให้เทียนลุกไหม้อย่างรวดเร็วและดับไปก่อน เสนาอามาตย์จึงนำตัวจ่ารักษาพระราชวัง
และนางศรีสุดาไปฆ่า จากนั้นจึงให้พระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์
ครั้นอยู่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงกระทำไมตรีติดต่อกับชาวฝรั่งเศส
ชาวไทยในสมัยนั้นต่างมีเวทย์มนต์คาถาอยู่ยงคงกระพันเป็นอันมาก
ได้ทดลองให้ชาวฝรั่งเศสใช้ปืนยิงแต่ก็ยิงไม่เข้า บางครั้งก็ยิงไม่ออก เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

ต่อมาพระนารายณ์ได้ส่งกองทัพไปตีเมืองหงสาวดี และสามารถได้รับชัยชนะอย่างง่ายดาย
เมื่อเลิกทัพกลับมาทางล้านนา จึงได้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นอีกเมืองหนึ่ง
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้สหายทั้งสี่คนคือ ชาวเชียงใหม่ พม่า ไทใหญ่และชาวไทย
รู้จักเป็นมิตรสหายกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้ร่วมมือกันสร้างวัดสี่เกลอไว้เป็นสักขีพยาน
ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ทั้งสี่คนต่างมีอุปนิสัยที่แตกต่างกันคือ
ชาวไทใหญ่ชอบเล่นเป็นพ่อค้าวัวต่าง ชาวพม่าชอบเล่นควายลากไม้
ชาวเชียงใหม่ชอบเลี้ยงหมา ส่วนชาวไทยชอบเที่ยวไปตามที่ต่างๆ

ครั้นในเวลาต่อมาชาวไทยคิดเอาใจออกห่าง จึงออกอุบายเล่านิทานให้เพื่อนทั้งสามของตนฟังว่า
มีสัตว์ ๔ ตัวเป็นเพื่อกันคือ วัว ควาย สุนัข และงู วันหนึ่งในขณะที่วัว
ควายกำลังกินหญ้าอยู่ริมชายป่าแห่งหนึ่งนั้น มีสุนัขสองตัวกำลังผสมพันธุ์กันอยู่
วัวเห็นเช่นนั้นจึงถามสุนัขว่าทำไมจึงหันหลังให้กัน สุนัขตอบว่าเพื่อแสดงความรักใคร่
หากหันหน้าเข้าหากันแล้ว จะทำร้ายแยกเขี้ยวยิงฟันใส่กัน ขณะนั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยผ่านมา
ควายจึงถามว่าทำไมจึงสามารถไปไหนมาไหนได้ ทั้งๆ ที่ไม่มีเท้า งูตอบว่าที่ไม่มีเท้านั้นดีแล้ว
เพราะเป็นการสะดวกใจ คิดจะไปไหนก็ไปได้เลย ไม่ต้องเสียเวลายกแข้งยกขา
จากนั้นสัตว์ทั้ง ๔ ก็แยกย้ายกันไป เมื่อชาวไทยเล่านิทานจบลง

ชาวพม่า ชาวเชียงใหม่และชาวไทใหญ่ก็ทราบความหมายว่าเพื่อนชาวไทยของตนต้องการที่จะแยกตัวไป
จึงพูดกันว่าชาวไทยนี้ชาติก่อนเคยเป็นแลน ได้กินข้าวลีบที่พระพุทธเจ้าประทานให้
ทำให้แลนมีลิ้นแตกออกเป็นสองแง่ จึงเป็นผู้ที่ช่างพูด แต่ปากกับใจไม่ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสอนว่า
สิ่งใดที่จะทำให้มิตรสหายผิดข้องหมองใจกัน จงอย่าได้นำมาพูดถึง ดังเช่นชายทั้ง ๔ คนนี้

(เรียบเรียงจาก ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา

ตำนานวัดป่าแดง

ตำนานวัดป่าแดง นครเชียงตุง

ตำนานวัดป่าแดง นครเชียงตุง
ตำนานวัดป่าแดง หรือตำนานวัดป่าแดงเชียงตุงนี้
ต้นฉบับเดิมเป็นของท่านเจ้าสายเมืองเม็งราย
ที่ได้ตรวจชำระและพิมพ์ในชุด Michigan Papers on Southeast Asia ( 1981)

สรุปสาระสังเขปดังนี้ ตำนานเริ่มต้นด้วยการประณามพระพุทธคุณ
และกล่าวถึงประวัติของพระโคตมพุทธเจ้าตามลีลาการเขียนตำนานในยุคนั้น
คือเริ่มต้นด้วยการบำเพ็ญเพียรทางใจ ทางกายและทั้งวาจา และกาย
ในสำนักพระพุทธเจ้าจำนวนหลายแสนพระองค ์จนได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์
มีพระทีปังกร เป็นต้น ตราบจนพระกัสสปะเป็นที่สุด

นอกจากนี้แล้ว ยังกล่าวถึงประวัติการสืบศาสนา เน้นการทำสังคายนาครั้งที่ ๓
ที่มีการส่งพระธรรมทูตไปประกาศศาสนายังประเทศต่าง ๆ ถึง ๙ แห่ง
และยังกล่าวถึงการสืบสายพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการสืบสายพระวินัยในลังกา
มีการกล่าวถึงพระมหาเถระเริ่มตั้งแต่พระอุบาลี ตราบจนพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ในลังกาทวีป
การนำพระศาสนามาประดิษฐานที่เชียงใหม่นั้น
ตำนานกล่าวว่า เริ่มเมื่อ จ.ศ.๒๓๕ (พ.ศ.๑๔๑๖) คือเมื่อพระอนุมติเถระ เมืองจากพัน
เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในสำนักของพระมหากัสสปะ ในประเทศลังกา

เมื่อกลับมาประกาศพุทธศาสนาที่เมืองพันนั้น พญาสุตโสมทรงเกิดประสาทศรัทธา
สถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง อุทุมพรมหาสวามี พระสงฆ์จากสุโขทัยรุ่นแรก ที่เดินทางไปลังกา
คือ พระมหาสุมนเถร และพระอโนมทัสสีพร้อมพระสงฆ์อีก ๓ องค์ และอุบาสก
เมื่อศึกษาพระธรรมวินัยจนครบ ๕ ปีแล้วท่านและคณะจึงเดินทางกลับ
ระหว่างทางขณะที่กำลังอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรนั้นเอง
พระองค์หนึ่งได้มรณภาพลง พระมหาสุมนะจึงตัดสินใจบวชอุบาสกเปนพระภิกษุ
โดยนำเอาพระพุทธรูปมาเป็นคณปูรกะ
นับเข้าในพระภิกษุสงฆ์ให้ครบจำนวน ๕ องค์ตามวิธีอุปสัมปทากรรมในปัจจันตชนบท
ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ในวินัยปิฎก

เมื่อพระมหาสุมนเถรและคณะเดินทางถึงสุโขทัยและประกาศศาสนาอยู่นั้น
ได้ทราบข่าวว่าพระอุทุมพรสวามี แห่งเมืองพันปฏิบัติดียิ่งนัก ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่นั้นพร้อมพระภิกษุอีก ๘ รูป
คือ พระอานันทะ พระพุทธสาคระ พระสุชาตะ พระปิยาสี พระสุวัณณคิรี พระเวสสภู
พระญาณ-สาคระและพระมหินทะ ท่านและคณะอยู่ศึกษาพุทธศาสนาที่เมืองพันจนครบ ๕ พรรษา
จึงอำลาพระอุทุมพรสวามี พร้อมกับได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ กลับไปยังเมืองสุโขทัย

ขณะนั้นเอง พระเจ้ากือนา ก็ส่งทูตไปอาราธนาพระมหาสุมนเถร ให้มาประกาศที่เชียงใหม่
ครั้นได้รับอาราธนาแล้ว ท่านจึงส่งพระอานันเถรพร้อมกับคณะอีก ๑๒ รูปไปแทน
พระเจ้ากือนาถวายการต้อนรับ โดยที่พระองค์ทรงมีศรัทธาอย่างแรงกล้าและมีพระประสงค์จะจัดการอุปสมบทแปลงพระภิกษุในเชียงใหม่
จึงอาราธนาให้ท่านอานันทเถรเป็นอุปัชฌาย์
แต่ท่านก็ไม่อำนวยตามได้เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์

พระเจ้ากือนาจึงโปรดให้ราชบุรุษไปอาราธนาพระมหาสุมนเถรมาทำหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้งนี้
พระมหาสุมนเถรพิจารณาเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะต้องเดินทางขึ้นไปเชียงใหม่
จึงตัดสินสินใจเดินทางไป ฝ่ายพระเจ้ากือนาโปรดให้มีการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่
โปรดให้มีการอุปสมบทแปลงพระเชียงใหม่และหริภุญชัยเสียใหม่
ที่หัวเวียงลำพูนท่ามกลางวัดจันทปภา
หลังจากนั้นก็ทรงสถาปนาให้ พระมหาสุมนเถร เป็นสมเด็จพระมหาสุมนวันรัตสามี

ส่วนพระอานันทเถรนั้นครั้นช่วยงานพระศาสนา พระมหาสุมนเถรสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็อำลากลับเมืองพัน
แต่ขณะเดินทางนั้นก็มรณภาพเสียที่เมืองแจม อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองแจม
(อ่าน”เมืองแจ๋ม” คือ อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่) จึงช่วยกันจัดการฌาปนกิจของท่าน
แล้วส่งอัฐบริขารกลับไปถวายท่านอุทุมพรสวามีที่เมืองพัน
พระเจ้ากือนาโปรดให้จัดหาสถานที่อันเหมาะแก่การบำเพ็ญแก่สมณะ
ทรงเห็นว่าสวนดอกไม้ของพระองค์เป็นที่ที่เหมาะสม จึงโปรดให้สร้างอารามที่นั้น
เรียกว่า ปุบผาราม เรียกกันทั่วไปว่า วัดสวนดอกคำ

หลังจากที่ พระเจ้ากือนาสวรรคตแล้ว พระเจ้าแสนเมืองราชโอรสได้เสวยราชย์แทน
ในสมัยนี้เอง พระสุชาโตแห่งเมืองชะเลียงได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่เมืองพรหมคิรี
และเดินทางต่อไปจนถึงเมืองตะนาวศรีแล้วเลยต่อไปจนถึงประเทศพม่า
และได้ศึกษาพุทธศาสนาอยู่ในสำนักพระนิธกมพหุเถร อยู่ที่นั้นนานถึง ๕ ปี
จากนั้นจึงเดินทางกลับเมืองชะเลียงประกาศศาสนาอยู่นานพอสมควรแล้ว
จึงได้ชวนอินทปัญญาสามเณรเดินทางขึ้นไปเชียงใหม่ช่วยพระมหาสุมนเถรเผยแพร่พุทธศาสนา

อินทปัญญาสามเณร ครั้นอายุครบอุปสมบทแล้ว พระอุปัชฌาย์จึงจัดขนานเรือเพื่อทำการอุปสมบท
ขณะที่กำลังคราดขนานนั้นเองเกิดเหตุอัศจรรรย์ คือ เรือขนานลอยน้ำทวนกระแสขึ้นไปทางทิศเหนือ
เหตุอันนี้เป็นลางบอกว่า ต่อไป อินทปัญญา จักนำเอาพุทธศาสนาไปประกาศที่เขมรัฐ หรือเชียงตุง
ครั้นกาลต่อมา พระสุชาโตและอินทปัญญาภิกขุ จึงเดินทางไปประกาศศาสนาที่เชียงตุง
เมื่อศาสนาตั้งมั่นแล้วพระสุชาโตก็เดินทางกลับเชียงใหม่
มอบภาระในการประกาศศาสนาที่เชียงตุงให้เป็นธุระของ พระอินทปัญญาต่อไป

ฝ่ายพระมหาสุมนเถรนั้น มรณภาพเมื่ออายุ ๘๐ ปี ในปี จ.ศ. ๔๗๙ ( พ.ศ.๑๖๕๐ )
พระเถระที่สืบลำดับสายในวัดสวนดอกมี ๑๔ รูป ดังนี้คือ พระสุนทระ พระมหากุมารกัสสปะ พระอานันทญาณะ
พระพุทธญาณะ พระพุทธคัมภีระ พระมหาญาณรังสี พระปิฏกสังฆราช พระมหาพุทธาทิจจะ พระญาณสาคระ
พระสังฆราชนาคเสน พระมหาวชิรโพธิ พระมหาสาครติสสะ พระมหาปุสสเทวะ และ พระมหาธัมมโพธิ

หลังจากที่พระเจ้าแสนเมืองมาสวรรคตแล้ว
พระแก้วพันตาเสวยราชพระองค์ได้สถาปนาพระมหาโพธิธัมมกิตติเป็นราชครู
วงการสงฆ์เชียงใหม่ก็มีเหตุวิวาทะและตำหนิซึ่งกันและกัน มีการแตกร้าวกันหลายครั้งหลายคราว
ครั้งแรกในรัชสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา โดยความว่าพระพุทธญาณสาคระให้ที่พักแก่โจร
และโจรนั้นไปขโมยของของคนอื่น

จากนั้นมา มีพระสงฆ์จากอยุธยาเดินทางมาเชียงใหม่และติเตียนข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์เชียงใหม่
นับเป็นการแตกร้าวครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าปวรจักกวัตติราช
พระองค์ตรัสถามเรื่องการเรียนพระปาฏิโมกข์ของสามเณรต่อพระพุทธาทิจจะ และ พระญาณสาคระ
พระองค์ทรงได้รับคำตอบที่ต่างกัน คือ พระพุทธาทิจจะว่าสามารถเรียนได้
ส่วนพระญาณสาคระตอบว่าไม่ได้ พระองค์เองทรงเชื่อพระพุทธาทิจจะ
ฝ่ายพระญาณสาคระเองเมื่อรับผ้ากฐิน ก็ประกอบพิธีในนทีสีมาแทนที่จะประกอบในอาราม
นอกจากนี้แล้ว การปลูกสีมาวัดสวนดอกเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คณะสงฆ์วิวาทกัน
จนต้องมีการบวชพระภิกษุเสียใหม่อีกหลายครั้ง
คราวหนึ่งมีการบวชโดยจัดคาดขนานด้านเหนือให้พระมหาญาณสุนทรเป็นสังฆนายกบวช
ด้านใต้ให้พระญาณสุนทระเป็นสังฆนายกบวชมีพระที่ไม่ยอมร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก

จึงต่างก็เกิดวิวาทะระหว่างกันและกัน พระไม่ยอมทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน เป็นเวลานานถึง ๑๖ ปี
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้พระทะเลาะกัน คือ เมื่อลูกจ่าสวนชื่อธัมมคัมภีร์มาบวชในสำนักพระมหาธัมมกิตติ เมื่อ จ.ศ.๗๔๔
( พ.ศ.๑๙๒๕ ) เมื่อบวชแล้ว ประพฤติผิดในพระอุปัชฌาย์ จึงหนีไปบวชในสำนักจันทวาณีชีโจร ประเทศลังกา
กลับจากลังกามาตำหนิพระสงฆ์ในเชียงใหม่ ประกาศคำสอนใหม่เป็นต้นว่า ไม่ให้กราบไหว้พระพุทธรูป
คำสอนใหม่นี้ได้แพร่ไปถึงเชียงแสน ต่อมาภายหลังก็สึกไปแต่งงานกับธิดาหมื่นสามล้านที่นครลำปาง

การแตกร้าวครั้งนี้ นับว่ารุนแรงมาก ขณะที่คณะสงฆ์ มีการร้าวรานกันอย่างหนักนั้นเอง
คราวนั้น พระมหาโพธิธัมมกิตติเป็นราชครู ๖ ปี พระธัมมคัมภีร์เข้ามาบวช ต่อจากนั้น ๑๘ ปี
บุตรพันตาแสงชื่อสามจิต เกิด จ.ศ. ๗๕๖ ( พ.ศ.๑๙๓๗ ) เมื่ออายุครบ ๑๓ ปีจึงไปบวชเป็นสามเณร
ในสำนักพระมหาโพธิธัมมกิตติเมื่อ จ.ศ.๗๖๙ (๑๙๕๐ ) อายุครบ ๒๐ ปี จึงได้รับการอุปสมบท

ครั้นอุปสมบทแล้ว ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนชำนาญ ปรากฏชื่อว่า ญาณคัมภีร์ ปี จ.ศ. ๗๗๖ ( พ.ศ. ๑๙๕๗ )
ญาณคัมภีร์ได้พบข้อบกพร่องในวงการสงฆ์ ข้อบกพร่องที่สำคัญข้อแรก คือ การอุปสมบทที่พระมหาสุมนเถร
กระทำในกลางมหาสมุทร โดยเอาพระพุทธรูปเป็นคณปูรกะ ทำให้การบวชในเวลาต่อมาไม่ถูกตามพระวินัยบัญญัติ
นอกจากนี้ ยังพบข้อบกพร่องในการสวดอีก ๑๐ ข้อ
มีการสวดญัตติจตุถกรรมวาจา และ การสวดไตรสรณคมน์เป็นต้น
เมื่อท่านพบข้อบกพร่องเหล่านี้แล้ว จึงตัดสินใจอำลาพระอุปัชฌาย์และพระเจ้าแผ่นดินไปศึกษาศาสนาที่ลังกา
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ท่านและพระอีก ๕ รูป คือ พระวุฑฒญาณะ พระสิทธิญาณะ พระญาณสารทะ พระรัตนนาคะ
และ พระจิตหนุ พร้อมกับอุบาสกเดินทางไปอยุธยา

เข้าไปกราบไหว้ราชครูอยุธยาและถวายพระพรพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาให้ทรงทราบ
พระเจ้าแผ่นอยุธยาทรงยินดีและโปรดให้อามาตย์สุภรัต เดินทางไปด้วย ท่านราชครูอยุธยาก็มอบหมายพระ ๕ รูป
คือ พระสังวระ พระสังกิจจะ พระโสภิตะ พระโจทยะ และพระญาณพละ เดินทางร่วมไปด้วย
ออกเดินทางจากอยุธยาเมื่อ จ.ศ.๗๘๑(พ.ศ.๑๙๖๒)
พระญาณคัมภีร์และคณะเดินทางถึงลังกาได้เข้าไหว้ท่านมหาสุรินทเถร ถามข่าวพระศาสนา ได้รับคำตอบว่า
การพระศาสนาในลังกาก็วิปลาสคลาดเคลื่อนมากมีการแตกแยกเป็นสำนักต่าง ๆ ถึง ๖๐ สำนักด้วยกัน
มีทั้งลัทธิมอญและพม่าปะปนอยู่มาก ศาสนายังบริสุทธิ์อยู่เฉพาะที่โรหนชนบทมหารัฐเท่านั้น

ครั้นทราบประพฤติเหตุแล้ว พระญาณคัมภีร์และคณะจึงตัดสินใจเดินทางไป โรหนชนบทมหารัฐ
เมื่อเดินทางไปถึงแล้ว ก็ได้เข้าเฝ้าพระมหาสุทัสนสมเด็จราชครู เล่าเรื่องพระศาสนาในเชียงใหม่ถวายท่าน
สมเด็จราชครูทราบแล้วจึงตำหนิพระสุมนเถรที่กระทำศาสนาให้วิปริตไปจากเดิม
แม้แต่การสวดที่เคยรับไปอย่างถูกต้อง ก็กลับทำให้วิบัติเช่นเดียวกัน
พระมหาญาณคัมภีร์แจ้งเหตุ จึงพร้อมใจกันทั้งคณะ ขออุปสมบทใหม่ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ
และศึกษาพุทธศาสนา เมื่อครบ ๕ พรรษา พ้นนิสัยแล้ว ท่านจึงอำลาพระมหาเถรชาวลังกากลับเชียงใหม่
พร้อมกับขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ พระพุทธรูป และพระไตรปิฎกกลับมาด้วย

พระญาณคัมภีร์เดินทางกลับถึงอยุธยา เข้าถวายพระพรพระเจ้าแผ่นดิน
พระเจ้าแผ่นดินเองก็ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมาก หลังจากนั้นก็เข้านมัสการพระมหาธัมมสารทเถร ราชครูอยุธยา
แจ้งข่าวพระศาสนาที่พระมหาสุทัสนเถร ลังกาส่งมาให้ทราบพระญาณคัมภีร์ขออนุญาตให้พระอยุธยาบวชแปลงเสียใหม่
จ.ศ.๗๘๖ (พ.ศ.๑๙๖๗) มีวัดต่าง ๆ เลื่อมใส ขอเข้าสังกัดฝ่ายพระญาณคัมภีร์ ถึง ๓๐๐ วัด
หลังจากประกาศพระศาสนาที่อยุธยาแล้ว

พระญาณคัมภีร์ก็เข้าถวายพระพรลาพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาเดินทางกลับเชียงใหม่
พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาโปรดให้ อามาตย์โสภิตะ ร่วมเดินทางไปถวายความสะดวก
ทุกที่ที่พระญาณคัมภีร์ผ่านไป มีฝูงประชาเลื่อมใสและขอบวชในฝ่ายของท่านเป็นอันมาก
ปี จ.ศ. ๗๘๙ ( พ.ศ. ๑๙๖๘ ) ชาวเชียงใหม่ พร้อมใจกันทูลเชิญท้าวลกขี้นเสวยราชย์
แทนพระแก้วพันตา ทรงพระนามว่า พญาอาทิตยราช
พระองค์ทรงทราบข่าวว่าพระญาณคัมภีร์มาถึงโปรดให้ราชบุรุษรื้อราชมนเทียรหลังเก่าไปสร้างวัดตั้งชื่อว่า
วัดราชมณเทียร ถวายให้เป็นที่จำวัดของพระญาณคัมภีร์ ซึ่งเมื่อถึงเชียงใหม่แล้ว
ท่านก็เข้าเฝ้านมัสการ และถวายรายงานต่าง ๆ เท่าที่ตัวท่านเองได้ประสบมาแด่อุปัชฌาย์
พร้อมขออนุญาตพระอุปัชฌาย์จัดการบวชแปลงภิกษุในเชียงใหม่เสียใหม่

สมเด็จอุปัชฌาย์บอกว่า ตัวท่านเองสืบเชื้อสายมาจากพระมหาสุมนเถรและพระสุชาโต
ยังยึดมั่นและศรัทธาในลัทธิดั้งเดิมอยู่ หากจะบวชแปลงพระ ที่พอใจจะบวชใหม่ ท่านก็ไม่ขัดข้อง
แต่ตัวท่านเองขออยู่ในสังกัดเดิม ประชาชาวเชียงใหม่ต่างพากันเลื่อมใสใน คำสั่งสอนของพระนิกายญาณคัมภีร์
โดยเปรียบเทียบกับคติคำสอนที่พระธัมมคัมภีร์เคยประกาศมาก่อน เมื่อพระสงฆ์ที่เชียงใหม่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
พระญาณคัมภีร์จึงถวายพระพรให้พระเจ้าอาทิตตราชสร้างอารามแห่งใหม่สำหรับพระสงฆ์
เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุ จึงโปรดให้สร้างวัดอีกแห่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เมืองเชียงใหม่
ตั้งชื่อว่า สีหฬรัตตารามาธิปติ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดป่าแดง ถวายพระสงฆ์นิกายใหม่นี้

นอกจากนี้แล้วยังมีพระในวัดอื่น ๆ อีก ๕๐๐ วัด ต่างก็เข้ามาอยู่ในสังกัดมหาญาณคัมภีร์ทั้งสิ้น
ต่อมาภายหลัง พระเจ้าสุวัณณนิธิ เชียงแสน สดับข่าวว่า พระญาณคัมภีร์ปฏิบัติดีนัก
จึงส่งทูตมาอาราธนาให้ไปประกาศศาสนาที่เชียงแสน พระญาณคัมภีร์จึงอำลาพระเจ้าแผ่นดิน
และอุบาสกอุบาสิกาเดินทางไปเชียงแสน เมื่อ จ.ศ.๗๖๙ (พ.ศ. ๑๙๘๐)
พระเจ้าสุวัณณนิธิโปรดให้สร้างวัดป่าแดง และวัดอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถวายฝ่ายคณะสงฆ์ป่าแดง
ประชาชนต่างพากันสรรเสริญยกยอโดยนำเอาเรื่องพระธรรมคัมภีร์มาเปรียบเทียบ ดังนัยที่กล่าวมาแล้วหนหลัง
การคณะสงฆ์ที่เชียงใหม่ หลังจากพระญาณคัมภีร์เดินทางไปเชียงแสนแล้ว มีดังนี้
คือ พระสงฆ์ที่กระจัดกระจาย ไปประกาศศาสนายังที่ต่างๆ ได้กลับมาเชียงใหม่
ก็เกิดวิวาทะระหว่างพระนิกายเก่าและนิกายใหม่ แต่ส่วนมากยังคงยึดตามพระมหาธัมกิตติราชครูนั้นเอง
เมื่อ จ.ศ.๘๐๓ (พ.ศ.๑๙๘๔) ขณะที่พระญาณคัมภีร์จำพรรษาอยู่ที่เชียงแสนนั้นเอง

ในนครเชียงตุง พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีครองเมือง แทนพระเจ้ารัตตเภรี พวกเปรตแลปีศาจมารบกวนปราสาท
พระองค์โปรดให้นิมนต์พระวัดสวนดอกเชียงลมมาสวดมนต์ แต่เปรตไม่เกรงกลัว
ยังมารบกวนอยู่เช่นเดิม เหตุการณ์ดำเนินไปอยู่เช่นนี้นานถึง ๑๐ ปี
อยู่มาวันหนึ่ง พระมหาญาณคัมภีร์ได้สุบินนิมิตที่เทวดามาดลใจว่า เกิดเหตุเภทภัยใหญ่หลวงที่นครเชียงตุง
รุ่งเช้าท่านแจ้งให้พระภิกษุ อุบาสก และอุบาสิกาฟัง ทุกคนในที่นั้นต่างเห็นว่า
พระญาณคัมภีร์ควรจะไปประกาศศาสนาที่เชียงตุง ท่านจึงตัดสินใจส่งพระโสมจิตกับศิษย์อีก ๔ องค์ไปแทน
พระเหล่านั้นเดินทางไปจนถึงเชียงตุง พักอยู่ที่ห้วยเย็น และได้ยินเสียงเด็กเลี้ยงวัวร้องบทขออุปสมบทและบรรพชา
จึงบอกเด็กเหล่านั้นว่าร้องไม่ถูกต้อง เด็กเหล่านั้นทราบแล้วจึงนำความไปแจ้งให้พ่อแม่ทราบ เมื่อพ่อแม่ทราบแล้ว
จึงนำความนั้นไปแจ้งให้อามาตย์เพื่อให้นำความไปกราบทูลให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบ ครั้นพระองค์ทราบแล้ว
จึงโปรดให้ราชบุรุษไปนิมนต์พระเหล่านั้นมาฉันภัตตาหารและโปรดให้พักอยู่ที่ วัดนัคคติฏฐาราม

วันหลังโปรดนิมนต์ให้ไปสวดมนต์ เพื่อกำจัดพวกเปรต พร้อมกับโปรดให้ตั้งหอท้าวจตุโลกบาล หอเทวดา
และหอท้าวมหาพรหม หลังจากเสร็จพิธีแล้ว เหตุวุ่นวายทั้งหลายก็หายเป็นปรกติ
พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณี ทรงเลื่อมใสในพระเหล่านั้น จึงโปรดให้สร้างมหาวันอารามให้เป็นที่อยู่จำพรรษา
จากนั้น ราว ๕ เดือน ไฟไหม้ห้วยปูน พระองค์โปรดให้จัดพิธีชำระเรื่องร้ายต่าง ๆ เหล่านั้นจนหายเป็นปรกติดังเดิม
เมื่อ จ.ศ.๘๐๔ เกิดอุทกภัยท่วมสะพานดอนขวาง พระองค์โปรดให้นิมนต์พระเหล่านั้นมาสวดรัตนสูตร
เภทภัยทั้งหลายก็หายไปอีกเช่นกัน เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้วพระโสมจิตและคณะ
จึงเข้าถวายพระพรลาพระเจ้าลาพระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีแต่พระองค์ไม่โปรดอนุญาต
หากทรงโปรดให้เสนาศิริวังศะเป็นราชทูตเดินทางนำอัฐบริขารไปถวายพระญาณคัมภีร์
และทูลขอพระเจ้าสุวัณณนิธิ เพื่อให้พระญาณคัมภึร์เดินทางไปประกาศศาสนาและสงเคราะห์ประชาชนชาวเชียงตุง

พระญาณคัมภีร์ทราบการนิมนต์และได้พระราชานุญาตแล้ว จึงออกเดินทางไปเชียงตุงพร้อมกับพระสงฆ์และพระไตรปิฎก
เมื่อถึงแล้ว พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณี ถวายการต้อนรับและโปรดให้จำพรรษาที่วัดป่ามหาวันอาราม
เมื่อ จ.ศ. ๘๐๕ ( พ.ศ. ๑๙๘๖ ) จึงโปรดให้สร้าง สิงหาฬรัตตารามาธิปติ หรือ วัดป่าแดงถวาย
พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีทรงมีพระราชศรัทธาถึงกับทรงถวายราชสมบัติแด่พระรัตนตรัยและเสด็จออกผนวช
พร้อมกับปรารถนาพระโพธิญาณและโปรดให้นำกิ่งมหาโพธจากเชียงใหม่ ไปปลูกไว้ที่วัดป่าแดงเชียงตุง
ต่อมาต้นโพธิแตกออกเป็น ๒ สาขา ตามสุปินนิมิตของพระโสมจิต ที่เทวดามาบอกนั้น คือ การที่ต้นโพธิ
แตกกิ่งสาขาออกมาอย่างนั้นกิ่งหนึ่งเป็นนิมิตว่า อนาคตนั้นหากภิกษุสนใจศึกษาธรรมวินัยไม่ต้องโทษ ๘ ประการ
คือ ไม่ทำตัวเป็นดั่งชาวบ้าน ๑ ไม่เปนคนพิการ ๑ ไม่เกิดในที่ห่างไกลพระรัตนตรัย ๑ ไม่เกิดในท้องนางทาสี ๑
ไม่ต้องโทษปาราชิก ๑ และอุปสมบทถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ๑ ศาสนา ก็จักเจริญรุ่งเรืองตลอด ๕,๐๐๐ พรรษา

ส่วนอีกกิ่งหนึ่งนั้นเป็นนิมิตว่า การปรารถนาสัพพัญญูตญาณของพระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีนั้นจะสมเร็จดังพระมโนปณิธาน
รุ่งเช้าท่านจึงแจ้งให้พระญาณคัมภีร์ได้ทราบ
ฝ่ายพระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีนั้น ต้องการจะทดลองว่าการปรารถนาพระสัพพัญญูของพระองค์จะสำเร็จหรือไม่
ก่อนบรรทม พระองค์ได้อธิษฐานว่าหากจะสำเร็จแล้ว ขอให้ได้ก้อนศิลามาฉลักพระพุทธรูป
พระพุทธบาตรและพระพุทธบาท จากนั้นก็เสด็จเข้าสู่ที่บรรทม
ขณะนั้นเทวดาก็มาสำแดงให้พระองค์ทรงทราบว่า ให้สร้างทั้ง ๓ สิ่งไปประดิษฐานที่ดอยเปรต ดอยเพงสา และหนองตุง
เรื่องที่เทวดาสำแดงนั้นเป็นความจริง เมื่อช่างทอเสื่อพ่อลูกเดินทางมาพักที่ฝั่งน้ำขึนพบหินลอยน้ำ
จึงนำความไปแจ้งให้พระองค์ทรงทราบ เมื่อทรงทราบแล้วจึงโปรดให้ไปนำหินก้อนนั้น มาแกะฉลักเป็นพุทธรูป
พุทธบาตร และพุทธบาท ไปประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว พระมหาญาณคัมภีร์ประกาศศาสนาที่เชียงตุง

เป็นที่แพร่หลายไปจนถึงสิบสองพันนา และลาว ท่านจำพรรษาอยู่ที่เชียงตุงนานถึง ๑๓ ปี จากนั้นองค์คำอันเตวาสิก
และประชาชนเชียงแสนประมาณ ๑๐๐ คน จึงพร้อมกันไปอาราธนาท่านกลับมาจำพรรษาที่เชียงแสนดังเดิม
ฝ่ายพระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณี โปรดให้การอุปภัมภ์ศาสนาฝ่ายป่าแดงและโปรดสถาปนาพระภิกษุสงฆ์ในเชียงตุง
เป็นต้นว่าสถาปนาพระโสมจิตเป็นราชครู อยู่ที่วัฒนาคารโรงหลวง พระภิกษุฝ่ายป่าแดงมี ๒๐๘ องค์
พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีโปรดให้เรือน ๓๕๐ หลังเป็นกัลปนา โปรดให้สร้างโรงคัลสำหรับประชุม การให้ศีลสามเณร
การถวายกฐินและการสดับเทศน์มหาชาติ ฝ่ายสงฆ์สังกัดเดิม คือ วัดสวนดอก ซึ่งเสื่อมลาภและสักการะ
จึงพากันกระจัดกระจายหนีไปยังที่ต่าง ๆ เหลือเพียงพระวัดอินท์ เพราะชราภาพมากไม่อาจจะไปที่ไหนได้
พระเจ้าศิริสุธรรมจุฬามณีโปรดให้อาราธนาพระฝ่ายป่าแดงไปประจำอยู่ตามอารามต่าง ๆ
แทนพระฝ่ายสวนดอกและโปรดให้มีการสถาปนาพระในเมืองอีกคำรบหนึ่ง

คณะสงฆ์ฝ่ายสวนดอกกลับฟื้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์หนึ่งซึ่งเดิมทีเป็นลูกแม่ป้าสามมาด
ได้ชักชวนประชาชนสร้างวัดยางควงที่ดอยป่าช้ายางควง ขุนสามวันสร้างพระพุทธรูปแม้จะไม่เสร็จในวันเดียว
แต่พอรุ่งเช้าองค์พระกลับสำเร็จอย่างงดงาม ก็เพราะอานุภาพของพระอินทร์ ประชาชนจึงพร้อมกันประดิษฐานไว้ที่นั้น
ต่อมาพากันไปนิมนต์พระจันทรปัญญาจากวัดยางควงให้มาจำพรรษาที่วัดอินทร์ พระยางควงเองมีจำนวนน้อยลง
จึงร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมกับฝ่ายป่าแดง อีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายราชสำนักก็ให้การอุปภัมภ์พระฝ่ายป่าแดง
จัดระเบียบการปรกครองคณะสงฆ์ มีการตั้งสังฆการี สร้างวัดวาอารามจำนวนมาก กำหนดวิธีการอุปัฏฐากพระภิกษุสงฆ์
มีการจัดระเบียบในการอภิเษกพระเถระ การทำบุญสุนทาน การกำหนดวันที่ควรและไม่ควรบำเพ็ญบุญ
การถวายและการอ่านคัมภีร์ ตลอดจนการสร้างหอไตร และระเบียบวิธีในการบรรพชาอุปสมบทเป็นต้น จวบจน
จ.ศ. ๙๓๔ ( ๒๑๑๕ ) จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่ายอย่างหนัก
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส ซึ่งเป็นปีที่พญาแก้วปราบภูมินทร์
เสด็จไปช่วยกองทัพพม่ารบกับข้าศึก พระฝ่ายสวนดอกเข้าพรรษาวันเพ็ญเดือน ๙ หรือเดือน ๘ แรก
ส่วนพระฝ่ายป่าแดงเข้าพรรษาเดือน ๑๐ หรือเดือน ๙ หลัง เพราะถือตามคตินิยมอนุวัติตามพระราชา

ถึงคราวรับกฐินฝ่ายสวนดอกไม่ได้รับ คงได้รับเฉพาะฝ่ายป่าแดงเท่านั้น
พระเจ้าแผ่นดินให้พิจารณาดูโปราณราชประเพณี เห็นเป็นเรื่องพระสงฆ์ จึงไม่โปรดให้พิจารณา
เมื่อคราวเกิดเพลิงไหม้ห้วยเย็น พระฝ่ายสวนดอกไปสวดไฟไหม้ลุกลามมากขึ้น ครั้นพระป่าแดงไปสวดมนต์
ไฟกลับหายไป ทำให้พระฝ่ายสวนดอกโจมตีพระญาณคัมภีร์ว่า ไม่เป็นพระที่แท้จริง ใช้เวทมนตร์
ทำให้ราชสำนักหลงใหลจนอุปภัมภ์ฝ่ายของตนเอง เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ อามาตย์ชื่อ ธัมมลังกา จึงโปรดให้มีการชำระ
โดยอ้างเอาเหตุการณ์ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าหงสาวดีครองเมือง พระองค์ทรงหลงผิดนับถือเดียรถีย์
โปรดให้นำพระพุทธรูปไปทิ้งน้ำ นางลูกสาวเศรษฐีฝันเห็นจึงให้คนไปกู้ขึ้นมาบูชา
พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบแล้วกริ้วมากโปรดให้ประหารชีวิตนาง แต่พวกเพชฌฆาตไม่อาจทำอันตรายนางได้
พระเจ้าหงสาวดีทราบเหตุนั้นจึงตรัสถามและทรงทราบว่า นางกราบไหว้พระพุทธรูป จึงได้รับการคุ้มครอง
นางจึงท้าให้มีการพิสูจน์ว่า ระหว่างพระพุทธเจ้าที่เป็นบรมครูของนางกับนิครนถ์ที่เป็นบรมครูของพระเจ้าแผ่นดิน
ใครจะทรงความดีและศักดิ์สิทธิมากกว่ากัน การพิสูจน์ทำโดยเขียนชื่อครูทั้งสองในใบลานแล้วเผาไฟ
พระเจ้าแผ่นดินตกลง จึงมีการพิสูจน์ ผลปรากฏว่า ชื่อนิครนถ์ถูกไฟไหม้ แต่ชื่อพระพุทธเจ้าไฟไม่ไหม้
เมื่อธัมมลังกาชักเหตุหนหลังนี้มาแล้ว ที่ประชุมจึงตกลงกันให้มีพิสูจน์ โดยยึดสัจจะเปนที่พึ่ง
ฝ่ายสวนดอกเขียนชื่อพระอินทมุนี ฝ่ายป่าแดงเขียนชื่อพระญาณคัมภีร์ลงในใบลาน
ครั้นเขียนแล้วตั้งสัจอธิษฐานแล้วจึงใส่ใบลานที่เขียนชื่อครูทั้ง ๒ ฝ่ายเข้าในกองไฟ
ผลปรากฏว่าใบลานที่เขียนชื่อพระอินทมุนีไฟไหม้
ส่วนลานที่เขียนชื่อพระญาณคัมภีร์ไฟไม่ไหม้แต่กลับเขียวงามดังเดิม
ประชาชนที่ประชุมอยู่ในสถานที่แห่งนั้นเห็นประจักษ์ จึงโห่ร้องด้วยความพอใจ

ซึ่งถือว่าฝ่ายป่าแดงมีชัยชนะเหนือฝ่ายสวนดอก ต่อมาพระเจ้าปราบภูมินทร์ จึงโปรดให้มีการชำระเรื่องการเข้าพรรษา
และการรับผ้ากฐินอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่าฝ่ายสวนดอกพ่ายแพ้
ดังนั้นภิกษุฝ่ายสวนดอกจึงพากันแตกกระจัดกระจายหนีไปอยู่ยังที่ต่าง ๆ บางพวกก็ลาสิกขา
แม้วิวาทะเรื่องการเข้าพรรษา เมื่อ จ.ศ.๙๔๕ (๒๑๒๖ ) ฝ่ายสวนดอกก็พ่ายแพ้อีกตามเคย
ต่อมามีการทะเลาะวิวาทกันอีกหลายครั้ง ความปราชัยมักจะเกิดมีแก่พระฝ่ายสวนดอกเสมอ
จึงเห็นว่าพุทธศาสนาที่ท่านญาณคัมภีร์นำเข้าไปประกาศที่เชียงตุงได้ฝังรากลึกตราบเท่าปัจจุบัน

(เรียบเรียงจาก บำเพ็ญ ระวิน

 

ใส่ความเห็น

Filed under ตำนานล้านนา